ถาม-ตอบเกี่ยวกับสินค้า

   

 โรคแคงเกอร์




 

เชื้อสาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. Citri

ลักษณะอาการ เชื้อแบคทีเรียสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้น ทั้งใบอ่อน กิ่ง และผลมะนาวและผลส้ม เกิดเป็นแผลตก สะเก็ดนูนสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่ ทั้งใบ กิ่งและผล แผลจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เห็นเป็นวงซ้อนๆ กัน ต่อมาจะเหลืองแห้ง และหลุดล่วงไป โดยเชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายใบอ่อน กิ่งอ่อน ผลอ่อน ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันและอากาศชื้น อาการจะลุกลามติดกับใบอ่อนที่เกิดบาดแผลจากหนอนชอนใบเข้าทำลาย อาการเริ่มแรกที่พบเห็นเป็นจุดฉ่ำน้ำใสๆ เท่าหัวไม้ขีดไฟและจะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตรงกลางแผลจะตกสะเก็ดนูนขึ้น สีน้ำตาลอ่อน ส่วนอาการที่เกิดตาม กิ่งอ่อนและผลจะพบแผลตกสะเก็ดนูนขึ้นสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน แผลที่กิ่งและผลอาจจะแตกเป็นแผลทำให้เกิดยางไหล ลุกลามไปยังใบทำให้ใบหลุดร่วงและกิ่งแห้งตายไปในที่สุด โรคแคงเกอร์เป็นโรคประจำตัวของพืชตระกูลส้ม บางสายพันธุ์ ทนทานต่อโรคนี้ บางสายพันธุ์ก็อ่อนแอต่อโรคนี้ แต่มักจะพบในมะนาวทุกสายพันธุ์ ถ้าพบเห็นโรคที่เกิดควรเก็บใบ กิ่ง และผล ที่เกิดอาการโรคแคงเกอร์ไปเผาทำลาย จะช่วยลดการระบาดของโรคนี้ได้ในระดับหนึ่ง การแพร่กระจาย สามารถแพร่กระจายได้ตามกระแสลม น้ำค้าง ฝน แมลง และมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเคลื่อนย้ายกิ่ง ที่มีโรคโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากแหล่งหนึ่งไปยังสถานที่อื่นๆ เป็นระยะทางไกลๆได้ช่วงที่ระบาดจะเป็นช่วงเดือน พฤษภาคม - กันยายน กรมส่งเสริมการเกษตร

แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

  • สำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
  • ตัดแต่งกิ่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์
  • พ่นน้ำส้มควันไม้ที่ตกตะกอนแล้ว อัตรา 150-200 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกครั้งที่มะนาวแตกใบอ่อน โดยเฉพาะช่วงฝนตกติดต่อกันให้พ่นทุกๆ 5-7 วัน
  • พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ดังนี้ – คอปเปอร์อ๊อกซี่คลอไรด์ 85% ดับบลิวพีอัตรา 40-60กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร - บอโดมิกเจอร์ (จุนสีผสมปูนขาว อัตรา 1 : 1) 300 + 300กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

ภาพประกอบอื่น ๆ

ผู้เข้าชม : 631